มีหวัง ไทยกำลังพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ต้นแบบเพื่อทดสอบในสัตว์ทดลอง

มีหวัง ไทยกำลังพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ต้นแบบเพื่อทดสอบในสัตว์ทดลอง

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข รายงาน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เร่งสร้างการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ประเทศไทย ทั้งการพัฒนาวัคซีนต้นแบบในประเทศ โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างพัฒนาวัคซีนต้นแบบเพื่อทดสอบในสัตว์ทดลอง และอยู่ระหว่างการเจรจาสร้างความร่วมมือในการวิจัยวัคซีนกับจีน

วันนี้ (19 เมษายน 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 

กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางสร้างการเข้าถึงวัคซีนให้กับประเทศไทยให้เร็วที่สุด โดยการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในการศึกษาวิจัยวัคซีนมาทดสอบในประเทศไทย ได้ประสานกับสถานทูตจีนติดตามความก้าวหน้าการทำข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศจีนร่วมศึกษาวิจัยทดสอบวัคซีนในคนระยะที่ 2 ขณะเดียวกัน ในประเทศได้มีความร่วมมือพัฒนาวัคซีนต้นแบบระหว่างหน่วยงาน ได้แก่ การวิจัยของคณะแพทยศาสตร์จุฬา กับบริษัทไบโอเนท-เอเชีย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ อยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ก่อนเข้าสู่การทดสอบในคน นำไปสู่การผลิตวัคซีนได้เองภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้เร็วขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการรับมือโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในอนาคตได้อีกด้วย

ดร.สุภาพร ภูมิอมร  ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างการตรวจระดับภูมิคุ้มกันในเลือดของสัตว์ทดลองที่ได้รับการฉีดวัคซีนต้นแบบ 2 ครั้ง ในการการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์จุฬา กับบริษัทไบโอเนท-เอเชีย ส่วนการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างการเพิ่มจำนวนไวรัส เพื่อนำไปฆ่าเชื้อเป็นวัคซีนเชื้อตาย นำไปฉีดในสัตว์ทดลอง

ทั้งนี้ การพัฒนาวัคซีนหลังจากการทดสอบในสัตว์ทดลอง จะทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนในคนอีก 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ทดสอบความปลอดภัยในคน 30-50 คน ระยะที่ 2 การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน กลุ่มเล็ก 100 – 150 คน และระยะที่ 3 ให้ผลในการป้องกันโรคในกลุ่มใหญ่ 500 คนขึ้นไป

ตอบให้หายสงสัย นอกจากน้ำลาย อะไรอีกที่เป็น “สารคัดหลั่ง”

หลายคนคงอยากทราบคำว่า “สารคัดหลั่ง” แบ่งออกได้เป็นอะไรบ้าง เพราะเอาจริง ๆ เราก็มักจะได้ยินคำนี้กันบ่อยทั้งเวลาไปพบแพทย์ หรือแม้แต่ได้ยินข่าวอาชญากรรม คดีความดัง ๆ ต่าง ๆ และเพื่อความกระจ่าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักสารคัดหลั่งในร่างกายของเรากัน

สารคัดหลั่ง คืออะไร ?

สารคัดหลั่ง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Secretion คือ สารที่มีลักษณะเป็นของเหลวในร่างกาย สารคัดหลั่งมีได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง มีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งเพื่อให้ความชุ่มชื้น ช่วยในการหล่อลื่น เป็นอาหาร เป็นสารที่สร้างขึ้นมาเป็นภูมิต้านทาน หรืออาจเป็นของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดทิ้ง เป็นต้น

ขณะที่สารคัดหลั่งในความหมายทางนิติวิทยาศาสตร์ จะหมายถึงคราบที่ตกค้างหรืออยู่บนร่างกายของมนุษย์ ซึ่งอาจเห็นด้วยตาเปล่าได้ หากสารคัดหลั่งนั้นอยู่บนเสื้อผ้าสีดำหรือสีเข้ม แต่ในกรณีที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ก็จำเป็นต้องใช้แสงอัลตราไวโอเลตส่องในห้องมืด เพื่อค้นหาสารคัดหลั่งต่อไป เพราะในสารคัดหลั่งมีดีเอ็นเอที่สามารถใช้ยืนยันตัวผู้กระทำผิดด้วย ตำรวจจึงใช้สารคัดหลั่งเป็นหลักฐานในการสืบค้นคดี

สารคัดหลั่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของร่างกาย เช่น

1. น้ำลาย ของเหลวที่ผลิตมาจากต่อมน้ำลาย มีหน้าที่ในกระบวนการรับรส การย่อย การกลืนอาหาร และให้ความชุ่มชื้นกับช่องปาก ซึ่งหากร่างกายเกิดการติดเชื้อ หรือได้รับสารแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย สารคัดหลั่งที่เป็นน้ำลายก็อาจตรวจพบเชื้อเหล่านั้นได้ด้วย

2. เลือด ทั้งเซลล์เม็ดเลือด น้ำเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ต่างก็จัดเป็นสารคัดหลั่งด้วยเช่นกัน และเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายเราติดเชื้อ สารคัดหลั่งในรูปแบบเลือดก็จะมีสารแปลกปลอมนั้นปนเปื้อนได้

3. น้ำเหลือง ระบบน้ำเหลืองจะมีอยู่ทั่วร่างกายเช่นเดียวกับเส้นเลือด โดยมีท่อน้ำเหลืองทำหน้าที่ลำเลียงน้ำเหลืองเข้าสู่หัวใจ มีลักษณะคล้ายพลาสมาของเม็ดเลือด แต่มีโปรตีนต่ำกว่าพลาสมาในเลือด ซึ่งหากระบบน้ำเหลืองมีปัญหา อักเสบ หรือติดเชื้อ ก็จะมีสารคัดหลั่งจากน้ำเหลืองที่ไหลออกมาจากอวัยวะที่มีต่อมน้ำเหลืองอยู่ เช่น น้ำเหลืองไหลออกจากหัวนม ในเคสผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม เป็นต้น

4. น้ำไขสันหลังและน้ำหล่อสมอง น้ำไขสันหลังและน้ำหล่อสมองเป็นของเหลวที่อยู่รอบสมองและบริเวณไขสันหลัง ทำหน้าที่รับแรงกระแทกต่อสมองและไขสันหลัง นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางในการขนส่งอาหารให้กับสมองและไขสันหลังด้วย

5. เสมหะ เสมหะหรือที่บางคนเรียกว่าเสลด เป็นสารคัดหลั่งที่ร่างกายสร้างออกมาจากต่อมสร้างสารคัดหลั่งที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินหายใจ เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ เป็นหวัด ก็อาจมีเสมหะในลำคอได้

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป